ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Androthrips flavipes Schmutz.
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Androthrips flavipes Schmutz.
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Androthrips flavipes Schmutz จำนวน 1 ชนิด (ภาพที่ 31-32) ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญที่ได้รายงานไว้โดย Boyd & Held (2006), Mound (2005) และ Mound & Reynaud (2005) พบว่ามีความสัมพันธ์กับแมลงทำปม โดยเป็นตัวห้ำของแมลงเหล่านี้ ซึ่งในการสำรวจพบว่าเพลี้ยไฟชนิดดังกล่าวลงทำลายแมลงวันทำปมในอันดับ Diptera และ มวนในอันดับ Hemiptera และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พบปะปนอยู่ในประชากรของเพลี้ยไฟไทรคิวบา (Cuban laurel thrips) Gynaikothrips ficorum (Phlaeothripidae) เป็นที่น่าสังเกตว่า A. flavipes มีลักษณะใกล้เคียงกับ A. ramachandrai Karny มาก
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
C. politus เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในประเทศทางตะวันออก เช่น ภูฐาน เนปาน ไทย และอินโดนีเชีย เพลี้ยหอยเป็นหลัก ในประเทศไทยพบว่ากินเพลี้ยหอยกาแฟ Coccus viridis
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยหอยศัตรูกาแฟ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศมาพร แสงยศ. 2558. ความหลากหลายทางชนิด และ การใช้ประโยชน์เพลี้ยไฟตัวห้ำเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. รายงานวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). 117 หน้า.
Lewis, T. 1973. Thrips their biology, ecology and economic importance. Academic Press, London. 349 pp.